เชื่อว่ามีหลายคนเริ่มปลูกกัญชากันจริงจังหลังมีการปลดล็อกกัญชา กัญชา (Cannabis) ถือเป็นพืชที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ และผู้ปลูกควรศึกษาสายพันธุ์ที่ปลูก เพื่อการดูแลอย่างเหมาะสม การ ปลูกกัญชาในโรงเรือน จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่ดีในการดูแลกัญชา
ตั้งแต่เริ่มปลดล็อกกัญชาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา ประชาชนสามารถปลูกกัญชา หรือมีพืชกัญชาไว้ในครอบครองได้ ไม่ผิดกฎหมาย โดยจะต้องมีการจดแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” และมีรายละเอียดอีกเล็กน้อยว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง
ปลูกกัญชาในโรงเรือน ดียังไง?
การปลูกกัญชาในโรงเรือน จะช่วยให้ต้นกัญชามีผลผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปราศจากการปนเปื้อนและสารกำจัดศัตรูพืช การปลูกในโรงเรือน แบ่งย่อยเป็น โรงเรือนระบบปิด กับ โรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green House)
♦ โรงเรือนระบบปิด ส่วนมากนิยมปลูกในตู้คอนเทนเนอร์ เพราะปิดมิดชิด สามารถควบคุมสภาวะการปลูกได้ ปลูกได้ 3-4 รอบ/ปี แต่มีต้นทุนสูง เหมาะกับการใช้งานประโยชน์ทางการแพทย์ หรือใช้งานสำหรับอุตสาหกรรมใหญ่ และเหมาะกับกัญชาสายพันธุ์ลูกผสม (สายพันธุ์ไฮบริด)
♦ โรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green House) รูปแบบการที่นิยมที่สุด เพราะสามารถเลือกขนาดของโรงเรือนให้เหมาะกับต้นกัญชาได้ ทั้งจำนวนและส่วนสูง หรือพูดง่าย ๆ ว่า นักปลูกที่ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน ปลูกไว้หลังบ้าน จำนวนไม่มาก ก็สามารถปลูกในโรงเรือนเพาะปลูกขนาดเล็กได้ — ดูโรงเรือนเพาะปลูกสำเร็จรูป
ข้อดีของการปลูกกัญชาในโรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green House)
1. ป้องกันศัตรูพืชได้ดีกว่าปลูกแบบแปลงเปิด
2. ระบายอากาศได้ดี ความคุมความชื้นป้องกันการเกิดเชื้อราได้ดี
3. มีแสงจากดวงอาทิตย์ส่องทะลุเข้ามาได้
4. ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ ปลูกได้ 4-5 รอบ/ปี
5. ติดตั้งโรงเรือนง่าย
เทคนิคปลูกกัญชาในครัวเรือน
สำหรับการปลูกในครัวเรือน นอกจากการปลูกกัญชาในโรงเรือนเพาะปลูกแล้ว ควรต้องมี Trick การปลูกติดไว้สักหน่อย เพื่อให้กัญชาอยู่รอดปลอดภัย ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ
1. ควรวางแผนการปลูกช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม โดยจะออกดอกเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน และเริ่มเก็บผลผลิตเดือนมกราคม เพราะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด ทำให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ
2. แนะนำปลูกในกระถางขนาด 30 ลิตร หรือ 12 นิ้ว
3. ควรใช้ดินปลูกร่วนซุย ชื้น แต่ไม่แฉะ
4. ต้นอ่อนของกัญชา วางไว้ในแสงรำไร
5. เมื่อต้นโตเต็มวัยจะสามารถทนแสงแดดได้ ให้นำไปปลูกในที่ที่มีแสงส่องถึง
6. ใส่ปุ๋ย 3 ครั้งหลังปลูก คือ 30, 60, 90 วันหลังปลูก
7. รดน้ำเช้า-เย็น ปริมาณปานกลาง
8. หมั่นตัดแต่งใบ เมื่อพบว่ามีแมลงมาทำลาย
การปลูกกัญชาในโรงเรือนยังมีข้อจำกัดอยู่ ไม่ว่าจะโรงเรือนระบบปิด กับ โรงเรือนเพาะปลูกพืช (Green House) ก็ตาม ด้วยความสูงของโรงเรือนค่อนข้างจำกัด และเรื่องของแสง จึงควรเลือกปลูกสายพันธุ์ไฮบริด หรือสายพันธุ์ลูกผสม ต้นไม่สูงมาก
โรงเรือนแบบไหน ที่จะเหมาะกับการปลูกกัญชา?
- โรงเรือนสีใส จะเหมาะกับ ต้นกัญชาที่โตแล้ว เพราะกัญชาต้องการแสงแดดเยอะ และโรงเรือนควรเป็นแบบทรงสูง
- โรงเรือนสีขาว เหมาะสำหรับ คนที่เพาะชำอยู่ และต้องการ โรงเรือนเพื่อควบคุมเรื่องน้ำ และป้องกันพวกแมลง ถ้าเป็นไปได้ ควรใช้โรงเรือน ที่มีช่องระบายอากศ และตาข่ายกันแมลงด้วย เพื่อที่จะสามารถเปิดระบายอากาศได้
shopee >> https://shope.ee/4fJePuhgFl
กินกัญชาอย่างไรให้ปลอดภัย
กัญชามีสารสำคัญ 2 ชนิด คือ CBD และ THC โดยจะมี CBD ไม่ถึง 0.30% และ THC ประกอบอยู่ถึง 12%
สาร THC ที่อยู่ในใบ เมื่อทำไปปรุงอาหารที่ผ่านความร้อนนาน ๆ หรือปรุงด้วยไขมัน เช่น การทอด จะทำให้สาร THC ละลายได้ดี แล้วถูกสกัดออกมามากขึ้น หากร่างกายได้รับ THC มากเกินไปจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ทำให้เป็นพิษและเมาได้ ส่วน CBD ที่มีประสิทธิภาพนั้น ต้องสกัดออกมา ทำได้ในกระบวนการอุตสาหกรรมแปรรูป เช่น ยารักษาโรค
-
- ควรผ่านความร้อนจำกัดปริมาณ เช่น ใส่ใบกัญชา 1-3 ใบ ต่อแกง 1 หม้อ หรืออาจเลือกกินแค่น้ำ ไม่กินใบ
- ไม่ควรกินเกิน 5-8 ใบ/วัน
- ระวังการกินใบแห้งที่ผ่านความร้อนมาแล้ว (ตากแห้ง) จะมีสาร THC อยู่ในตัวประมาณ 1-2 มิลลิกรัม/ใบ หากนำมาปรุงอาหารด้วยการใช้ความร้อนหรือไขมันอีก ปริมาณสาร THC จะยิ่งเพิ่มขึ้น
กรมอนามัยได้แนะนำปริมาณใบกัญชาต่อเมนูไว้ในประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้
อาหารประเภททอด ใช้ใบกัญชา 1-2 ใบสด กรณีทำไข่เจียว แนะนำครึ่งใบ-1 ใบสด เนื่องจากสาร THC และ CBD ละลายได้ดีในน้ำมัน
อาหารประเภทผัด ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
อาหารประเภทแกง ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
อาหารประเภทต้ม ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด
ผสมในเครื่องดื่ม 200 มิลลิลิตร ใช้ใบกัญชา 1 ใบสด